สภากทม. ประชุมแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านสาธารณสุข ณ จังหวัดฟูกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น
วันที่ 29 พฤษภาคม 2567 เวลา 9:00 น. ตามเวลาท้องถิ่นจังหวัดฟูกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น นายวิรัตน์มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร และนางชญาดา วิภัติภูมิประเทศ รองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่หนึ่ง พร้อมด้วยคณะผู้แทนสภากรุงเทพมหานครเข้าร่วมประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นหัวข้อระบบประกันการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ณ ห้องประชุม ศาลาว่าการจังหวัดฟูกุโอกะ
.
Preventive Long-Term Care : PLC เป็นการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวเชิงป้องกันและเป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือจากจังหวัดฟูกุโอกะ ในการถ่ายทอดความรู้การป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแอและโรคสมองเสื่อม จากผู้นำชุมชนสู่ชุมชนอย่างยั่งยืนโดยไม่ต้องให้สูงวัยก็เริ่มบริหารได้เพื่อสุขภาพที่ดีของเราเอง ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดฟูกุโอกะตามกรอบความสัมพันธ์ฉันมิตร ในระยะเวลาที่ผ่านมาฝ่ายฟูกุโอกะได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาหารือกับคณะกรรมการโครงการของฝ่ายกทม. (Instructions) และ Sumerty trainers โดยให้ความรู้ฝึกทักษะผู้ฝึกสอน การออกกำลังกายที่สอดคล้องกับบริบทสังคมไทยเพื่อป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงและโรคภาวะสมองเสื่อม (ที่เรียกว่า locomotive และ cognise) ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยควรฝึกปฏิบัติตัวเองก่อนข้าสู่วัยชราหรือเริ่มที่อายุ 40 ปีเพื่อที่ในอนาคตจะได้เป็นผู้สูงวัยที่แข็งแรงไม่เป็นภาระแก่ลูกหลานในการดูแลรักษาพยาบาล
.
ภาพรวมของระบบ
จัดตั้งระบบสังคมช่วยกันดูแลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ (ประกันการดูแลระยะยาว) ในปี ค.ศ. 1997 ได้มีการร่างกฎหมายประกันการดูแลระยะยาวและปี 2000 มีการบังคับใช้กฎหมายประกันการดูแลระยะยาว
ประโยชน์ของระบบประกันการดูแลระยะยาว
– ส่งเสริมให้เกิดการพึ่งพาตนเอง
– มุ่งเน้นผู้ใช้บริการโดยช่วยให้ผู้ใช้บริการเลือกรับบริการด้านการแพทย์และอนามัย รวมถึงบริการสวัสดิการสังคมจากหน่วยงานต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม
– นำโครงสร้างของระบบประกันสังคมในเรื่องการชำระค่าบริการและอัตราเบี้ยประกันมาใช้
.
การประกันการดูแลระยะยาวหรือ Long-Term Care Insurance (LTCI) เป็นการประกันที่ให้ความคุ้มครองแก่ผู้เอาประกันในด้านความเสี่ยงจากความพิการอันเนื่องมาจากการเข้าสู่วัยสูงอายุ (ageing vists) หรือในบางกรณีที่สามารถขยายความคุ้มครองไปครอบคลุมความพิการด้วยเหตุอื่นๆ รวมอยู่ด้วย หลังจากที่ได้รับการบรรยายสรุปเนื้อหาแล้วทางคณะได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมถึงขอซักถามเพื่อจะนำแนวคิดดังกล่าวมาปรับใช้ในการบริหารงานของกรุงเทพมหานครต่อไป
.
เวลา 11:00 น. คณะผู้แทนสภากทม. ได้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นหัวข้อ One Health (สุขภาพหนึ่งเดียว) ณ ศาลาว่าการจังหวัดฟูกุโอกะ โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
.
แนวคิด one heath ของจังหวัดฟูกุโอกะหรือสุขภาพหนึ่งเดียวเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาสุขภาพที่รวมสุขภาพคน สุขภาพสัตว์ และสุขภาพสิ่งแวดล้อม รวมเอาไว้ด้วยกันให้สุขภาพดีอย่างเป็นองค์รวม ให้มีการปรับผังที่อิงกับระบบนิเวศ (Ecosystem – based adaptation :EbA) โดยเป็นการใช้ความได้เปรียบของธรรมชาติเข้ามาช่วยหรือปกป้องมนุษย์ไม่ให้เผชิญภัยหรือลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน อาทิ ผลประโยชน์ร่วมกันทางสุขภาพกับการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (heath s-benefats of clinate cation) และผลประโยชน์ร่วมกันทางสุขภาพกับประเด็นสิ่งแวดล้อม โดยที่สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายทางเศรษฐกิจและส่งเสริมสุขภาพได้ โดยผนวกแนวคิดการจัดการกับ climate change ในการสร้างบ้านเรือนการขนส่งคมนาคมและพลังงานตลอดจนผลักดันภายใต้แนวคิดของการบริหารจัดการและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจะสามารถช่วยลดความเสื่อมทางสุขภาพและส่งผลให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้
.
โครงการของสุขภาพหนึ่งเดียว (one health) จะเกี่ยวข้องกับประเด็นสุขภาพและสภาวะที่ดี มีการแจ้งเตือนล่วงหน้ารถและบริหารความเสี่ยงด้านสุขภาพ การพัฒนาเมือง ที่อยู่อาศัยและระบบขนส่งคมนาคมที่ยั่งยืน โดยเฉพาะลดความสูญเสียจากภัยพิบัติ รวมทั้งการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการอนุรักษ์ทรัพยากรระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพทั้งทางทะเลและทางบก
.
เพื่อให้เป็นแนวทางสำหรับผู้กำหนดนโยบายได้ทราบผลประโยชน์ร่วมกัน co-benefits และดารได้อย่างเสียอย่าง trade – off ของสุขภาพคนและระบบนิเวศให้มีความสมดุลเพื่อสร้างสรรค์อนาคตที่ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้นรักษาสิ่งแวดล้อมมากขึ้นทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อมสามารถรับมือและมีภูมิคุ้มกันต่อความเสื่อมตลอดจนมีความยั่งยืนต่อจากยุคโควิด-19 นี้เป็นต้นไป
.
หลังจากเสร็จสิ้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น คณะผู้แทนสภากทม. ได้มอบของที่ระลึกและถ่ายภาพร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ที่ให้ข้อมูลโครงการ “One Health”
——————————
ผู้ชมทั้งหมด 253 ครั้ง, ผู้ชมวันนี้ 4 ครั้ง