
รับข้อเสนอส.ก. เร่งเพิ่มประสิทธิภาพดูแลสัตว์เลี้ยงและสัตว์จรในพื้นที่กทม.
ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 3) ประจำปีพุทธศักราช 2567 นายพุทธิพัชร์ ธันยาธรรมนนท์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตยานนาวา เสนอญัตติขอให้กรุงเทพมหานครพิจารณาก่อสร้างโรงพยาบาลสัตว์สังกัดกรุงเทพมหานคร
.

.

1.คลินิกเอกชน ร้อยละ 43.3
2. โรงพยาบาลสัตว์เอกชน ร้อยละ 41.23
3. โรงพยาบาลสัตว์รัฐบาล ร้อยละ 9.8
.
ส่วนหนึ่งเกิดจากสถานพยาบาลสัตว์ของภาครัฐมีจำนวนน้อยและรองรับการบริการไม่ครอบคลุม เช่น สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร มีบริการคลินิกสัตวแพทย์ จำนวน 8 แห่ง ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ฉีดยาคุมกำเนิด และทำหมันเป็นหลัก ขณะที่สถานพยาบาลสัตว์เอกชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีจำนวน 758 แห่ง มีทั้งประเภทมีที่พักและไม่มีที่พักค้างคืน ให้บริการหลากหลาย
.
นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการดูแลและรักษาพยาบาลสัตว์เลี้ยงค่อนข้างสูง นำมาซึ่งภาระค่าใช้จ่ายจำนวนมากและคาดเดาไม่ได้สำหรับผู้เลี้ยง ทำให้เมื่อสัตว์เลี้ยงป่วยอาจไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจนอาจส่งผลให้การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์เลี้ยงทำได้ยาก ดังนั้น เพื่อเป็นการดูแลสุขภาพและสวัสดิภาพของสัตว์ ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้เลี้ยง จึงขอให้กรุงเทพมหานครพิจารณาก่อสร้างโรงพยาบาลสัตว์สังกัดกรุงเทพมหานคร
.

แต่กรุงเทพมหานครมีข้อติดขัดหลายประการ เรื่องแรก ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 และพระราชบัญญัติกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ไม่ได้ให้อำนาจท้องถิ่นในการจัดการสถานพยาบาลสัตว์ในระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ แต่ได้ให้อำนาจในการควบคุมการเลี้ยงสัตว์และการกำจัดโรคระบาดในสัตว์ ในระดับปฐมภูมิเพียงเท่านั้น ดังนั้น การที่จะทำให้เป็นโรงพยาบาลสัตว์ คงต้องมีการศึกษาเพื่อให้เป็นไปตามข้อบัญญัติที่ได้ให้อำนาจเราไว้ ข้อจำกัดที่สอง คือ เรื่องของอัตรากำลังที่กรุงเทพมหานครมีมาตั้งแต่แรก ทำให้มีสัตวแพทย์จำนวนค่อนข้างน้อย หากเราสามารถศึกษาในเรื่องนี้และวางรูปแบบที่จะเป็นสถานรักษาพยาบาลสัตว์ของกรุงเทพมหานครได้ ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ ในขณะเดียวกันศูนย์ควบคุมดูแลสุนัขจะได้ให้บริการดูแลแมวด้วย สามารถรองรับสัตว์ได้รวม 1,000 ตัว แต่ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการปรับปรุง ยังไม่ได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ ส่วนเรื่องของหน่วยบริการในการทำหมันในชุมชน ขณะนี้ได้ให้ลงพื้นที่ทุกวัน และแต่ละวันให้เพิ่มจำนวนการรับและบุคลากรทางการแพทย์สองเท่าตัว
รวมทั้งได้ทำMOUกับภาคีเครือข่ายเพื่อร่วมกันจำกัดจำนวนสัตว์ในปี 67 ตั้งเป้าไว้ที่ 2 แสนตัว ส่วนแนวทางที่ท่านส.ก.ได้ให้ข้อเสนอแนะไว้ ฝ่ายบริหารจะขอรับเพื่อนำไปปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ ตลอดจนแก้ระเบียบหรือโมเดลในการปรับปรุงสถานบริการระดับทุติยภูมิและตติยภูมิในอนาคตต่อไป
————————————
ผู้ชมทั้งหมด 774 ครั้ง, ผู้ชมวันนี้ 6 ครั้ง