skip to Main Content

ประกาศรายชื่อผู้โชคดี ได้รับรางวัลกระบอกน้ำรักษ์โลกสีเขียว จำนวน 20 ท่าน ครั้งที่ 2

📢 ประกาศรายชื่อผู้โชคดี 📢 ได้รับรางวัลกระบอกน้ำรักษ์โลกสีเขียว จำนวน 20 ท่าน . ขอขอบคุณทุกความคิดเห็นที่ส่งถึงสภากรุงเทพมหานครและขอแสดงความยินดีกับผู้โชคดีทุกท่านด้วยนะคะ 1. คุณวรรณิดา อุนทุโร 2. คุณลลิตวดี เกริกชัย 3. คุณสุพรรณษา พงศ์ประกาศิต 4. คุณศิริเทพ แพรศรี 5. คุณพรรณณี เพียรเลิศมีสุข 6. คุณสุนีย์ พวงคำ 7. คุณมานพ ตั้งเลิศปัญญา 8. คุณวสันต์ ลักขณากุล 9. คุณศิริพงษ์ พึ่งทอง 10. คุณวิชชุดา แจ้งดี 11.…

Read More

สภากรุงเทพมหานครได้จัดการประชุมสภามหานครอาเซียน (ACCM 2018) ขึ้นเป็นครั้งแรกของอาเซียน ระหว่างวันที่ 27-28 ก.พ. 61

สภากรุงเทพมหานครได้จัดการประชุมสภามหานครอาเซียน (ACCM 2018) ขึ้นเป็นครั้งแรกของอาเซียน ระหว่างวันที่ 27-28 ก.พ. 61 เพื่อให้ผู้แทนสภาเมืองได้ร่วมแลกเปลี่ยนและระดมความเห็นประเด็นต่างๆ ตามกรอบประชาคมอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายนิติบัญญัติของสภาเมืองหลวง โดยมีหัวข้อการประชุมหลัก คือ “ความร่วมมือของสภามหานครอาเซียนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (ASEAN City Council Cooperation for Sustainable Development) และหัวข้อย่อย “การเสริมสร้างขีดความสามารถของฝ่ายนิติบัญญัติท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Strengthening Capacity Building of Local Legislative Branch towards the Sustainable Development)

Read More

ตอนที่ 3 บทบาทของ คณะกรรมการการระบายน้ำ

คณะกรรมการการระบายน้ำ สภากรุงเทพมหานคร มีบทบาทและหน้าที่ พิจารณา สอบสวนหรือศึกษา ติดตาม ตรวจสอบ และให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของกรุงเทพมหานครในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ   การบริหารจัดการน้ำในเขตกรุงเทพมหานคร และปัญหาน้ำรอการระบาย หลังฝนตกหนัก เป็นเรื่องที่ประชาชนในเขต กทม. ให้ความสนใจตลอดมา ดังนั้น #บทบาทของคณะกรรมการการระบายน้ำ สภากรุงเทพมหานคร ที่จะเข้าไปตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานครเป็นอย่างไร ?   บทบาทหน้าที่ “คณะกรรมการการระบายน้ำ” สภากรุงเทพมหานคร คืออะไร ? คณะกรรมการการระบายน้ำ สภากรุงเทพมหานคร มีบทบาทและหน้าที่ พิจารณา สอบสวนหรือศึกษา ติดตาม ตรวจสอบ และให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของกรุงเทพมหานครในการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ เช่น การแจ้งเตือนและการป้องกันอุทกภัย การวางแผนและดำเนินการเกี่ยวกับการระบายน้ำ การบำรุงรักษาแหล่งน้ำและทางระบายน้ำ การควบคุมคุณภาพน้ำ การป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกแหล่งน้ำและทางน้ำสาธารณะ…

Read More

ตอนที่ 2 บทบาทของ “คณะกรรมการการโยธาและผังเมือง”

การบริหารงานด้านการโยธาและผังเมืองของกรุงเทพมหานครเช่นโครงการก่อสร้างอาคารโครงการก่อสร้างถนนสะพานข้ามแยกสะพานข้ามคลองอุโมงค์ทางเดินลอดเป็นต้นรวมถึงการปรับปรุงซ่อมแซมเป็นหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆของฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานครผู้ที่ตรวจสอบการทำงานทั้งหมดนี้คือ “คณะกรรมการการโยธาและผังเมืองประจำสภากรุงเทพมหานคร” บทบาทและหน้าที่ “คณะกรรมการการโยธาและผังเมืองประจำสภากรุงเทพมหานคร” ผู้ที่ตรวจสอบการทำงานทั้งหมดที่ระบุไว้ข้างต้น คือ “คณะกรรมการการโยธาและผังเมืองประจำสภากรุงเทพมหานคร”เนื่องจากคณะทำงานนี้มีหน้าที่และอำนาจในการศึกษาติดตามตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานการวางแผนการโยธาการก่อสร้างและบูรณะการควบคุมการก่อสร้างการควบคุมอาคารการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานด้านการวางผังและการจัดทำผังเมืองในเขตกรุงเทพมหานครรวมทั้งการศึกษาปัญหาเพื่อหาแนวทางแก้ไขข้อขัดข้องต่างๆในการดำเนินงานของหน่วยงานก่อนรายงานผลการดำเนินงานต่อสภากรุงเทพมหานคร เปิดใจประธานคณะกรรมการการโยธาและผังเมือง สภากรุงเทพมหานคร นายนิรันดร์ ประดิษฐกุลในฐานะประธานคณะกรรมการการโยธาและผังเมืองสภากรุงเทพมหานครให้สัมภาษณ์ถึงบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการการโยธาและผังเมืองว่า “สภากรุงเทพมหานครมีคณะกรรมการสามัญประจำสภากรุงเทพมหานครทั้งหมด 12 คณะซึ่งคณะกรรมการการโยธาและผังเมืองสภากรุงเทพมหานครเป็นหนึ่งในนั้นมีหน้าที่ช่วยดูแลแนะนำพิจารณาการออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครส่วนที่เกี่ยวข้องกับการโยธาและผังเมือง”   การลงพื้นที่ทางลอดสะพานไทย-เบลเยียมถนนพระราม 4 ใกล้จุดการก่อสร้างอุโมงค์ทางเดินเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน (สถานีลุมพินี)สะท้อนภาพการทำงาน ยกตัวอย่างการลงพื้นที่ทางลอดสะพานไทย-เบลเยียมถนนพระราม 4 ใกล้จุดการก่อสร้างอุโมงค์ทางเดินเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน(สถานีลุมพินี) เมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2564 หลังจากประชาชนผู้ใช้เส้นทางร้องเรียนว่าพื้นผิวการจราจรบริเวณเชิงสะพานมีลักษณะการยกตัวเป็นเนินสูงเกรงว่าจะเกิดอุบัติเหตุกับผู้สัญจรไปมาตำรวจจราจรตรวจสอบพบว่าเกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางเดินเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคลบริเวณสถานีลุมพินีกับโครงการวันแบงค็อกซึ่งบริษัทเอกชนได้ทำบันทึกข้อตกลงขออนุญาตกับทางกรุงเทพมหานครเมื่อตำรวจแจ้งเหตุทางสำนักการโยธากรุงเทพมหานครได้รีบสั่งการให้บริษัทเอกชนเร่งซ่อมแซมให้สภาพพื้นผิวการจราจรให้ใช้ได้ตามปกติทันที จากกรณีนี้ นายนิรันดร์ อธิบายว่า การแก้ไขปัญหาตามที่ประชาชนร้องเรียนเป็นหน้าที่โดยตรงของสำนักการโยธากรุงเทพมหานครส่วนการทำงานของคณะกรรมการการโยธาและผังเมืองสภากรุงเทพมหานครคือการเข้ามาตรวจสอบว่าดำเนินการเรียบร้อยหรือไม่? นี่เป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนภาพการทำงานตรวจสอบของคณะกรรมการการโยธาและผังเมืองสภากรุงเทพมหานคร เป้าหมายการทำงาน “คณะกรรมการการโยธาและผังเมืองประจำสภากรุงเทพมหานคร” นายนิรันดร์ กล่าวว่า งานด้านการโยธาและผังเมืองของกรุงเทพมหานคร ยังมีอีกหลายแง่มุมขณะนี้ยังมีอีกหลายโครงการที่กรุงเทพมหานครนำงบประมาณไปดำเนินการอยู่ เพื่อพัฒนากรุงเทพมหานครให้มีความเจริญรุดหน้าต่อไป เป้าหมายของคณะกรรมการการโยธาและผังเมืองสภากรุงเทพมหานครคือการเข้าไปตรวจสอบเพื่อให้การดำเนินการตามข้อร้องเรียนดังกล่าวสอดคล้องกับการวางผังและพัฒนาเมืองระดับประเทศตามกฎระเบียบที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมืองพ.ศ. 2562  …

Read More

ประกาศรายชื่อผู้โชคดี ได้รับรางวัลกระบอกน้ำรักษ์โลกสีฟ้า จำนวน 20 ท่าน

📢 ประกาศรายชื่อผู้โชคดี 📢 ได้รับรางวัลกระบอกน้ำรักษ์โลกสีฟ้า จำนวน 20 ท่าน . ขอขอบคุณทุกความคิดเห็นที่ส่งถึงสภากรุงเทพมหานครและขอแสดงความยินดีกับผู้โชคดีทุกท่านด้วยนะคะ . 1. คุณภาคภูมิ อ่อนละออ 2. คุณศรันย์พร สร้อยภู่ระย้า 3. คุณจิดาภา เหลืองอ่อน 4. คุณนิตยา แจ้งดี 5. คุณศุภชัย พนมหิรัญ 6. คุณวันมงคล อุ่นเรือน 7. คุณศราวุธ คูภานุมาต 8. คุณศติสา จันทราวุฒิกร 9. คุณณภัทรสพล พัดโต 10. คุณธีรารัตน์ คงสวัสดิ์…

Read More

ตอนที่ 1 บทบาทของ “ประธานสภากรุงเทพมหานคร”

การพัฒนากรุงเทพมหานครในทุกมิติ คือ หน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้นำ แต่อีกหนึ่งองค์กรที่สำคัญ คือ “สภากรุงเทพมหานคร” ซึ่ง “ประธานสภากรุงเทพมหานคร” ทำหน้าที่และมีอำนาจในการดำเนินกิจการของสภากรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามข้อบังคับของสภากรุงเทพมหานคร การพัฒนากรุงเทพมหานครในทุกมิติ คือ หน้าที่ของฝ่ายบริหารโดยผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นผู้นำ แต่ชาวกรุงหลายคนอาจยังไม่รู้ว่ามีอยู่อีกหนึ่งองค์กรที่สำคัญ นั่นก็คือ “สภากรุงเทพมหานคร” สภากรุงเทพมหานครเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบในการออกข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ และมีอำนาจตรวจสอบติดตามการบริหารของฝ่ายบริหาร ด้วยการตั้งกระทู้ถาม เสนอญัตติ เปิดอภิปรายทั่วไป และโดยเฉพาะการทำหน้าที่ผ่านคณะกรรมการสามัญประจำสภากรุงเทพมหานคร ซึ่งถือว่าเป็นบทบาทอันสำคัญของสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ที่จะตรวจสอบและติดตามการบริหารของฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร สภากรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร หรือ “ส.ก.” ชุดปัจจุบัน มาจากการแต่งตั้งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2557 ซึ่งมีการเลือกประธานสภากรุงเทพมหานคร ดำรงตำแหน่งคราวละ 2…

Read More

เมืองยาชิโย จังหวัดชิบะ รับมือโควิด-19: ศัพท์เฉพาะทาง

ศัพท์เฉพาะทางสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อ coronavirus รายใหม่ "ผู้ป่วย" หมายถึงอะไร? บุคคลต้องสงสัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาใหม่ตามลักษณะอาการทางคลินิก (อาการและผลการวิจัยของแพทย์) และผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาใหม่โดยตรวจพบเชื้อไวรัส  "พาหะนำโรคที่ไม่แสดงอาการ" หมายถึงอะไร? ผู้ที่ไม่มีอาการทางคลินิก (อาการหรือผลการตรวจของแพทย์) แต่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่โดยตรวจพบเชื้อไวรัส  "บุคคลใกล้ชิด" คืออะไร? ผู้ที่เคยติดต่อกับบุคคลผู้ที่ได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนารายใหม่ในระยะใกล้หรือเคยติดต่อกันเป็นเวลานานจะมีโอกาสติดเชื้อค่อนข้างสูง นอกจากนี้ จะจัดอยู่ในประเภทการติดต่อใกล้ชิดหรือไม่ การติดต่อจะกำหนดเป็นรายบุคคลโดยการสำรวจสถานะการติดต่อจากศูนย์บริการสาธารณสุข หากคุณถูกกำหนดให้เป็นคนใกล้ชิด ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของศูนย์บริการสาธารณสุข  แนวทางสำหรับบุคคลใกล้ชิด ยกตัวอย่าง หากผู้ป่วยมีการติดต่อกับผู้ป่วยตั้งแต่ 2 วันก่อนเริ่มมีอาการของโรคโดยไม่มีมาตรการป้องกันการติดเชื้อที่จำเป็น หรือหากผู้ป่วยสัมผัสกับผู้ป่วยในระยะห่างประมาณ 1 เมตร เป็นเวลา 15 นาทีขึ้นไป  การสำรวจทางระบาดวิทยาเชิงรุกคืออะไร? การสำรวจนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อในอนาคต โดยศึกษาภาพรวมของการระบาดและลักษณะอาการของโรคต่างๆ เช่น โรคระบาด ในญี่ปุ่น สถาบันต่างๆ ของประเทศจะเป็นผู้ดำเนินการสำรวจ…

Read More

ประชุมคณะกรรมการวิสามัญศึกษาข้อเท็จจริงและกฎหมาย ที่ใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นในและพื้นที่ต่อเนื่องกัน

วันที่ 19 เมษายน 2564 เวลา 09.30 น. นายไพฑูรย์ ขัมภรัตน์ ประธานคณะกรรมการวิสามัญศึกษาข้อเท็จจริงและกฎหมาย ที่ใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ชั้นในและพื้นที่ต่อเนื่องกัน เป็นประธานประชุมคณะกรรมการวิสามัญฯ ครั้งที่ 10/2564  ณ ห้องประชุม 5 - 6 สภากรุงเทพมหานคร  ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า)

Read More
Back To Top