
คณะอนุกรรมการตั้งข้อสังเกตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพภารกิจของเขต เสนอที่ประชุมวิสามัญพิจารณางบ68 กทม.
ณ ห้องบางกอก อาคารไอราวัตพัฒนา กทม.2 ดินแดง : (21 ส.ค.67) นางกนกนุช กลิ่นสังข์ ประธานคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวิสามัญฯ พิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ของหน่วยงานกรุงเทพมหานคร โดยในวันนี้เป็นการรายงานผลการพิจารณางบประมาณของประธานคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ระดับเขต 5 คณะ ประกอบด้วย
1. คณะอนุกรรมการฯ ของสำนักงานเขตธนบุรี ภาษีเจริญ จอมทอง หนองแขม ทุ่งครุและบางคอแหลม
2. คณะอนุกรรมการฯ ของสำนักงานเขตบางซื่อ จตุจักร ราชเทวี และลาดพร้าว
3.คณะอนุกรรมการฯ ของสำนักงานเขตบางนา ประเวศ ยานนาวา พระโขนง และวัฒนา
4.คณะอนุกรรมการฯ ของสำนักงานเขตตลิ่งชัน ทวีวัฒนา และบางแค
5.คณะอนุกรรมการฯ ของสำนักงานเขตมีนบุรี ลาดกระบัง หนองจอก และคลองสามวา
.

ถาวร ส.ก.เขตวัฒนา ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการ นำเขตบางนา ประเวศ ยานนาวา พระโขนง และวัฒนา เข้าชี้แจง นายอำนาจ ปานเผือก ส.ก.เขตบางแค ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการ นำเขตตลิ่งชัน ทวีวัฒนา และบางแค เข้าชี้แจง และนายณรงค์ รัสมี ส.ก.หนองจอก ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการ นำเขตมีนบุรี ลาดกระบัง หนองจอก และคลองสามวา เข้าชี้แจง
.

.

.

.

.

.

1. กรุงเทพมหานครควรเร่งรัดให้ปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ค่าจ้าง ค่าตอบแทน สิทธิหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นใดของลูกจ้างกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2567 เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้กับลูกจ้างของกรุงเทพมหานครที่มีรายได้น้อย
2. สำนักงาน ก.ก.ควรเร่งสำรวจตำแหน่งที่หมดบัญชี และสำนักงานการเจ้าหน้าที่ควรเร่งรัดการบรรจุข้าราชการในตำแหน่งที่ว่าง เพื่อให้กรุงเทพมหานครมีเจ้าหน้าที่เพียงพอสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. กรุงเทพมหานครควรประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ประชาชนเกี่ยวกับพระราชบัญญัติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงชำระภาษีภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่มาชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดอาจถูกยึด อายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้เสียภาษีได้
4. กรุงเทพมหานครควรเร่งรัดการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมทั้งเร่งรัด ติดตาม ตรวจสอบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมภาษีที่ต้องชำระ และที่ค้างชำระเพื่อให้สามารถจัดเก็บรายได้ตามเป้าหมายที่กำหนดและครบถ้วน
5. กรุงเทพมหานครควรมีการประสานงานระดับฝ่าย หรือกลุ่มหน่วยงานราชการ หรือประชาชนทั่วไป เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความเชี่ยวชาญที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน ให้การเสนองบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานมีเหตุผลและความจำเป็นที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้การเบิกจ่ายเงินเป็นไปตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับแผนการเบิกจ่ายเงินงบประมาณในแต่ละช่วงระยะเวลา และมีประสิทธิภาพในการพัฒนาต่อไป
6. กรุงเทพมหานครควรจัดหาโดรนสำหรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น
7. เมื่อหน่วยงานได้รับงบประมาณค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างควรรีบดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และบริหารสัญญาว่าจ้างตามที่ระบุในสัญญาโดยเคร่งครัด สำหรับการปรับปรุงโรงเรียน เขตควรเร่งดำเนินการในช่วงปิดภาคเรียนให้แล้วเสร็จ รวมทั้งกำชับผู้รับจ้างให้จัดทำบัตรประจำตัวพร้อมภาพถ่ายคนงานและรายชื่อผู้ที่จะเข้าปฏิบัติงานเพื่อให้โรงเรียนใช้ในการตรวจสอบ
8. โรงเรียนควรจัดให้มีกระดาษชำระประจำห้องน้ำนักเรียนเพื่อให้นักเรียนมีสุขอนามัยที่ดี
9. โรงเรียนส่วนใหญ่มีระบบกรองน้ำสำหรับน้ำดื่มเท่านั้น แต่เนื่องจากนักเรียนใช้น้ำประปาในการล้างหน้า แปรงฟัน และโรงเรียนใช้ล้างผักและผลไม้ จึงควรจัดให้มีระบบกรองน้ำสำหรับน้ำใช้ด้วยเพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้น้ำประปาซึ่งอาจมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค
10. ห้องน้ำนักเรียนที่เป็นห้องน้ำใหญ่มีประตูทางเข้า และภายในแบ่งเป็นห้องน้ำหลายๆ ห้อง ไม่ควรมีประตูทางเข้า ป้องกันเหตุกระทำอนาจารหรือทะเลาะวิวาท
11. โรงเรียนควรมีการปรับปรุงภาพลักษณ์ให้มีความสวยงามทันสมัย เพื่อจูงใจให้นักเรียน และผู้ปกครองมีความสนใจอยากส่งบุตรหลานเข้าเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
12. การปรับปรุงห้องน้ำนักเรียน สำนักงานเขตควรจัดหาสุขภัณฑ์สำหรับเด็กเล็กเพื่อให้มีความเหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพของเด็ก
13. โรงเรียนควรเร่งดำเนินการบริหารจัดการระบบทะเบียนทรัพย์สิน เพื่อให้มีจำนวนทรัพย์สินถูกต้องและเป็นไปตามข้อเท็จจริง
.

.

.

1. การตั้งราคาค่าครุภัณฑ์ควรเป็นตามมาตรฐานราคากลาง สำหรับรายการที่สืบราคาตามท้องตลาดต้องตรวจสอบเอกสารประกอบการพิจารณาให้ครบถ้วน
2. ควรกำหนดคุณลักษณะและรายละเอียดของครุภัณฑ์ให้มีความทันสมัยเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการใช้งานมากขึ้นและสอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
3. การตั้งค่าใช้จ่ายรายการค่าไปรษณีย์กรณีการแจ้งผู้กระทำความผิดปรับผ่านทางไปรษณีย์ ควรมีการตั้งงบประมาณที่เหมาะสมและเพียงพอ เนื่องจากทั้ง 50 เขตมีการขอจัดสรรงบประมาณ หากสามารถดำเนินการได้ในรูปแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้จะสามารถลดงบประมาณได้
4. หลักการพิจารณางบประมาณไม่ควรยึดตามกรอบการพิจารณา ร้อยละ 30 และการจัดลำดับความสำคัญ เนื่องจากแต่ละเขตพื้นที่มีสัดส่วนพื้นที่ และจำนวนประชากร ความจำเป็นและปัญหาที่ต่างกัน ควรพิจารณาถึงสิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
5. งบอุดหนุนจากรัฐบาลที่โรงเรียนได้รับในสัดส่วนร้อยละ 40 ที่เป็นค่าสาธารณูปโภค ควรจัดสรรให้เป็นงบประมาณสำรอง เพื่อใช้ในกรณีอื่น ๆ ของการใช้ในโรงเรียน
6. การของบประมาณในการปรับปรุงโครงการต่าง ๆ ควรขอจัดสรรให้ครบภายใน 1 ครั้ง เนื่องจากการดำเนินการแยกจะเป็นการแบ่งจัดซื้อจัดจ้าง และการขอในปีงบประมาณถัดไปจะไม่ได้รับการพิจารณา
7. โครงการก่อสร้างเขื่อน ค.ส.ล. หากเป็นพื้นที่แสงสว่างไม่เพียงพอในเวลากลางคืน ควรขอจัดสรรงบประมาณในส่วนของไฟฟ้าในคราวเดียวกัน เนื่องจากการโครงการจากสำนักการโยธาสามารถดำเนินการในรูปแบบดังกล่าวได้ หากดำเนินการแยกจะเป็นการแบ่งจัดซื้อจัดจ้าง และการขอในปีงบประมาณถัดไปจะไม่ได้รับการพิจารณา
8. สำนักงานเขตควรตรวจสอบการรุกล้ำที่สาธารณะให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
9. กรุงเทพมหานครควรปรับปรุงระเบียบให้ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียนมีงบประมาณสำหรับค่าไฟฟ้า ประปา และสาธารณูปโภคต่าง ๆ
10. ควรจัดประชุมให้คำแนะนำแก่ชุมชนในการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายการสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน เนื่องจากยังขาดความรู้ความเข้าใจในการเบิกจ่าย
11. รายการปรับปรุงซอยต่างๆ หากมีการเทคอนกรีตต้องมีระดับที่เท่ากันและวางรางวีต้องได้มาตรฐานตามที่สำนักการโยธากำหนดไว้
12. ควรมีการจัดทำฐานข้อมูลการลอกท่อภาพรวมเพื่อเป็นแผนในการลอกท่อต่อไป
13. ควรมีการติดตามความคืบหน้าของโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินงาน และใช้เวลาอย่างคุมค่า และเกิดผลกระทบต่อประชาชนให้น้อยที่สุด
14. ควรมีการทบทวนการกำหนดตัวชี้วัดโดยจะต้องไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา และควรมีเกณฑ์มาตรฐานที่สามารถวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานที่แท้จริงได้
.

1. การทาสีอาคารเรียนควรใช้สีที่เป็นอัตลักษณ์ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร และเป็นสีแบบเดียวกันเมื่อได้รับงบประมาณในปีต่อไป
2. การปรับปรุงถนน ตรอก ซอย ที่สร้างท่อระบายน้ำฝั่งเดียว แล้วทำท่อลอดเพื่อรับน้ำอีกฝั่ง สำนักงานเขตควรคำนึงถึงการขยายตัวของเมืองที่มีมากขึ้น โดยสร้างท่อระบายน้ำทั้งสองฝั่งและกำหนดขนาดของท่อให้สามารถระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง
3. ถนน ตรอก ซอย ที่มีปัญหาน้ำท่วมขัง หน่วยงานควรแก้ไขโดยล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำหลักและท่อลอดก่อน หากยังคงมีปัญหาจึงเสนอของบประมาณแก้ไขโดยการยกระดับผิวทางหรือเพิ่มขนาดท่อระบายน้ำต่อไป
4. การขอตั้งงบประมาณค่าที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง กรณีมีการรุกล้ำ สำนักงานเขตควรแก้ไขปัญหาให้เรียบร้อยก่อน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหากได้รับงบประมาณแล้วผู้รับจ้างสามารถเข้าปฏิบัติงาน่ได้โดยไม่มีปัญหาอุปสรรค และทำให้งานล่าช้า
5. การจ้างเหมาล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำควรมีเนื้องานจ้างล้างท่อระบายน้ำหลัก ท่อลอด และบ่อพัก ไปพร้อมกันในคราวเดียว
6. การก่อสร้างในพื้นที่โรงเรียน ควรกำหนดการวางครุภัณฑ์ไม่ให้กระทบต่อพื้นที่ใช้สอยของเด็กนักเรียน
7. การของบปรับปรุงพื้นภายนอกอาคารเรียนควรเลือกกระเบื้องที่เหมาะกับสภาพภายนอกอาคาร ป้องกันอันตรายหลังฝนตก
8. การปรับปรุงพื้นสนามเด็กเล่นควรใช้วัสดุที่เหมาะสมเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก
.

1. การประมาณการจัดเก็บภาษี ควรคำนึงถึงความเป็นจริงและความเหมาะสม เนื่องจากมีการพยายามเปลี่ยนที่ดินรกร้างว่างเปลา เป็นการทำการเกษตรหรือสร้างบ้านพักอาศัย เพื่อลดการจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และพยายามลดขนาดหรือลดรูปแบบของตัวอักษรเพื่อลดอัตราการเสียภาษีป้าย
2. การจัดหายานพาหนะทดแทนของเดิมที่จำหน่าย ควรพิจารณาการใช้ยานพาหนะไฟฟ้า (EV) เพื่อลดการใช้พลังงาน ลดมลพิษ และปัญหาฝุ่นควัน
3. การปรับปรุงถนนซอยต่าง ๆ ควรประสานความร่วมมือกับการประปา ลดปัญหาการขุดเจาะพื้นถนนเพื่อวางท่อประปา แล้วไม่ได้ปรับปรุงสภาพให้อยู่ในสภาพเดิม ทำให้กรุงเทพมหานครต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อทำการปรับปรุงสภาพพื้นผิวถนนบ่อยครั้ง
4. สำนักงานเขตควรมีการของบประมาณการขุดลอกคลองเป็นประจำทุกปี เพื่อเตรียมการระบายน้ำในพื้นที่ ตามนโยบายของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
.

1.ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และเอกสารประกอบร่างข้อบัญญัติฯ ควรมีรายละเอียดครบถ้วนชัดเจน
2.ครุภัณฑ์บางประเภท ควรเลือกใช้ครุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
3. ควรปรับปรุงประสิทธิภาพและหลักเกณฑ์การตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้เหมาะสมพอดีกับการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณ ให้มีงบประมาณเหลือจ่ายในแต่ละปีให้น้อยที่สุด
4.กรณีครุภัณฑ์ที่ไม่มีมาตราฐานของสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี และที่กรุงเทพมหานครกำหนด หน่วยงานควแนบใบเสนอราคาและรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์ให้ถูกต้อง ครบถ้วนและชัดเจน
5. การตั้งงบประมาณปรับปรุงถนนในกรณีที่ไม่มีเนื้องานการวางท่อระบายน้ำ ควรมีเนื้องานวางท่อระบายน้ำไปในคราวเดียวกัน
6. การเชื่อมต่อท่อระบายน้ำจากบ้านเรือนประชาชนควรกำหนดให้ผู้รับจ้างเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อป้องกันมิให้เกิดมีการเรียกค่าใช้จ่ายจากประชาชน
7. ในการปรับปรุงถนนควรคำนึงถึงระดับความสูงของถนนที่จะปรับปรุง
8. ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ชื่อรายการ แผนผังบริเวณที่จะดำเนินการปรับปรุง และใบประมาณราคาควรมีชื่อที่ถูกตองและตรงกัน
9. การตั้งงบประมาณรายจ่ายค่าอาหารทำการนอกเวลาไม่ได้พิจารณาจากปริมาณงานตจริง และไม่ตรงกับภารกิจที่รับผิดชอบ
10. ควรตั้งงบประมาณที่เป็นการส่งเสริมและสนับสนุน เช่น ด้านกีฬา เพื่อเป็นการต่อยอกไปสู่ระดับที่สูงขึ้น
11. การซ่อมแซมไฟฟ้าสาธารณะ กรณีการเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าส่องสว่างที่สำนักงานเจตดำเนินการเองโดยประสานการไฟฟ้านครหลวง มีการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่แตกต่างจากการเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าส่องสว่างที่ดำเนินการโดยสำนักการโยธา ควรมอบให้สำนักการโยธาเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อให้ไฟฟ้าส่องสว่างเป็นไปในทางเดียวกันทั้งกรุงเทพมหานคร
—————————


































ผู้ชมทั้งหมด 344 ครั้ง, ผู้ชมวันนี้ 8 ครั้ง