skip to Main Content

ตอนที่ 4 บทบาทของ “คณะกรรมการการจราจรและการขนส่ง”

 “มหานครสำหรับทุกคน” ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครอบคลุมกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส คือหนึ่งในเป้าหมายตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556 – 2575) ซึ่งเป็นการทำงานของฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร ที่คณะกรรมการการจราจรและการขนส่ง สภากรุงเทพมหานคร จะเป็นตัวแทนประชาชนเข้าไปตรวจสอบ

แม้ตอนนี้คนกรุงแทบไม่ได้ออกไปไหนมาไหน แต่การเดินทางออกนอกบ้านแต่ละครั้ง ใคร ๆ ก็ต่างมุ่งหวังที่จะเจอการเดินทางอย่างสะดวกและปลอดภัย
“มหานครสำหรับทุกคน” ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครอบคลุมกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส คือหนึ่งในเป้าหมายตามแผนพัฒนากรุงเทพมหานคร ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2556 – 2575) ซึ่งการทำงานของฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร ในการพัฒนาด้านคมนาคม การจราจร และการขนส่ง ของกรุงเทพมหานคร เป็นหัวใจหลักที่ทำให้ทุกชีวิตเดินทางได้สะดวกและปลอดภัย แต่ใครกัน ?  คือ ตัวแทนประชาชนที่จะเข้าไปตรวจสอบ

บทบาทของ “คณะกรรมการการจราจรและการขนส่ง สภากรุงเทพมหานคร”
คณะกรรมการการจราจรและการขนส่ง สภากรุงเทพมหานคร มีหน้าที่และอำนาจ พิจารณา สอบสวนหรือศึกษาติดตาม ตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานของกรุงเทพมหานครในด้านการคมนาคม การจราจร การขนส่งมวลชน เช่น การพัฒนาระบบโครงข่ายคมนาคม ความปลอดภัยของประชาชน การกำหนดมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวกรรมด้านขนส่ง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการควบคุมและจัดการจราจร การเสริมสร้างวินัยจราจร เป็นต้น รวมทั้งการศึกษาปัญหา เพื่อหาแนวทางแก้ไข
ข้อขัดข้องต่าง ๆ ในการดำเนินงานของหน่วยงาน ก่อนรายงานผลการดำเนินงานต่อสภากรุงเทพมหานคร

การสัญจรระบบล้อ ราง เรือ ต้องเชื่อมต่อกันได้อย่างลงตัว
นายชยาวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา กรรมการในคณะกรรมการการจราจรและการขนส่ง สภากรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “ยุทธศาสตร์หนึ่งของกรุงเทพมหานคร คือ นครแห่งการเดินทางที่สะดวกและปลอดภัย เพื่อให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองท่องเที่ยว ที่สามารถบริการประชาชน และนักท่องเที่ยวได้อย่างสมบูรณ์แบบ ไม่ว่าจะเป็นการสัญจรระบบล้อ ราง เรือ ให้สามารถเดินทางเชื่อมต่อกันได้อย่างลงตัว”

ส่งเสริมการติดตั้งลิฟต์โครงการรถไฟฟ้า สำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ
ยกตัวอย่างการเข้าตรวจสอบพื้นที่โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีหมอชิต เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร นายชยาวุธ เปิดเผยว่า “โครงการรถไฟฟ้า ก็เป็นระบบหนึ่ง ที่คณะกรรมการการจราจรและการขนส่ง สภากรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญ เนื่องจาก รถไฟฟ้าเป็นระบบขนส่งสาธารณะ ขนส่งมวลชน ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ดี และสามารถขนส่งผู้โดยสารได้เป็นจำนวนมาก ทางคณะกรรมการการจราจรและการขนส่ง สภากรุงเทพมหานคร ก็พยายามให้งบประมาณในส่วนที่ส่งเสริมโครงการรถไฟฟ้านี้ เช่น การติดตั้งลิฟต์สำหรับผู้สูงอายุและคนพิการ ตามข้อเรียกร้องของประชาชน”

นายชยาวุธ กล่าวย้ำ วิสัยทัศน์ในการทำงานของคณะกรรมการการจราจรและการขนส่ง สภากรุงเทพมหานคร คือ “คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน โดยไม่ทอดทิ้งให้ใครอยู่เบื้องหลัง”

ฝากข้อเสนอแนะถึงสภากรุงเทพมหานคร ผ่านเว็บไซต์ของสภากรุงเทพมหานครที่ www.bmc.go.th
#ร่วมคิดร่วมสร้างกรุงเทพฯที่ดีขึ้น #BetterBangkok

ผู้ชมทั้งหมด 2,926 ครั้ง, ผู้ชมวันนี้ 2 ครั้ง

This Post Has 0 Comments
กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น
Back To Top