skip to Main Content

สภากทม.โหวตเลือก ดร.จอห์น ส.ก.ลาดกระบัง นั่งเก้าอี้ประธานสภากทม. คนที่ 24

(6 มิ.ย.67) ณ ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง : สภากรุงเทพมหานคร เปิดการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมวิสามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 1) ประจำปีพุทธศักราช 2567 เพื่อเลือกประธานสภากรุงเทพมหานคร และรองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนใหม่ เนื่องจากครบวาระการดำรงตำแหน่ง . เนื่องจากประธานสภากรุงเทพมหานคร และรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ได้ดำรงตำแหน่งตามวาระครบ 2 ปี เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 ตามข้อบังคับการประชุมสภากรุงเทพมหานคร ได้กำหนดให้มีการเลือกประธานสภากรุงเทพมหานคร และรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ถัดจากวันที่ประธานสภากรุงเทพมหานคร และรองประธานสภากรุงเทพมหานคร ครบวาระการดำรงตำแหน่ง ในที่ประชุมได้เชิญสมาชิกสภากรุงเทพมหานครผู้มีอายุสูงสุด คือ นายไสว…

Read More

2 ปีที่ผ่านมากับการทำงานของสภากรุงเทพมหานคร

(5 มิ.ย. 67) นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร นำทีม นางชญาดา วิภัติภูมิประเทศ รองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่หนึ่ง นายอำนาจ ปานเผือก รองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่สอง และ นางสาวนฤนันมนต์ ห่วงทรัพย์ โฆษกสภากรุงเทพมหานคร แถลงผลงานต่อสื่อมวลชน ในวาระการดำรงตำแหน่ง ครบรอบ 2 ปี สภากรุงเทพมหานครถือเป็นองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติของกรุงเทพมหานคร มีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ทั้งหมด 50 คน ที่มาจากการเลือกตั้ง มีอำนาจหน้าที่แยกจากกันกับฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานคร โดยสภากรุงเทพมหานครทำหน้าที่ออกกฎหมาย ติดตามการทำงาน และช่วยสนับสนุนการบริหารกรุงเทพมหานคร ในขณะที่ฝ่ายบริหาร มีหน้าที่รับผิดชอบการกำหนดนโยบายและการบริหารราชการกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ชุดปัจจุบัน นับเป็นชุดที่…

Read More

สภากทม.เข้าเยี่ยมคารวะประธานสภาจังหวัดฟูกุโอกะ

วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 15.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศญี่ปุ่น คณะผู้แทนสภากทม. นำโดยนายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร เข้าเยี่ยมคารวะนายโคฮะระ คัตสึจิ (Mr. Kohara Katsuji) ประธานสภาจังหวัดฟูกุโอกะ ณที่ทำการสภาจังหวัดฟูกุโอกะ จังหวัดฟูกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น . นายโคฮะระ ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างสภาของทั้งสองฝ่ายซึ่งมีการแลกเปลี่ยนการเยือนกันอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้ได้ขอรับการสนับสนุนจากสภากทม. ในประเด็นต่างๆ อาทิ การเชิญชวนผู้ประกอบการของทั้งสองฝ่ายให้มาลงทุนค้าขายระหว่างกัน การแลกเปลี่ยนเยาวชนของทั้งสองฝ่ายโดยเฉพาะนักเรียนในชั้นมัธยมและนักศึกษามหาวิทยาลัย และการสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาตลอดจนการร่วมกับฝ่ายกรุงเทพมหานครครับเคลื่อนแนวคิด "One Health" เพื่อแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม โดยต้องดูแลรักษาสุขภาพคน สัตว์และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆ กัน เพื่อควบคุมการระบาดของโรคที่เกิดจากคนและสัตว์และเป็นกลไกเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ . นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร…

Read More

สภากทม. เข้าเยี่ยมคารวะกงสุลใหญ่ ประจำเมืองฟูกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมร่วมผลักดันความสัมพันธ์ที่เป็นรูปธรรมให้มากขึ้น

(30 พ.ค.67) นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้แทนสภากรุงเทพมหานคร เข้าเยี่ยมคารวะ นายโกศล สถิตธรรมจิตร กงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น . เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสเข้ารับตำแหน่ง กงสุลใหญ่ฯ โดยทั้งสองฝ่ายได้ใช้โอกาสดังกล่าวหารือแนวทางในการทำงานร่วมกันในฐานะทีมประเทศไทยเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับญี่ปุ่นต่อไป . โดยกงสุลใหญ่ฯ แสดงความยินดีที่ความสัมพันธ์ระหว่างสภากทม. กับจังหวัดฟูกุโอกะมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องซึ่งสภาของทั้งสองฝ่ายถือเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญ ทั้งนี้สถานกงสุลใหญ่ฯ พร้อมสนับสนุนให้ความสัมพันธ์ดังกล่าวมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น พร้อมแสดงความตั้งใจที่จะผลักดันความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม เช่น การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวปฏิบัติเป็นเลิศ (Best Practices) ของจังหวัดฟูกุโอกะในด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาบุคลากรและการประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ในการบริการสาธารณะ เป็นต้น . จากนั้น กงสุลใหญ่ฯ ได้กล่าวชื่นชมความตั้งใจจริงของสภากรุงเทพมหานครที่มุ่งมั่นส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ กลับเมืองฟูกุโอกะมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด ทั้งกับหน่วยราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสถานกงสุลใหญ่ฯ…

Read More

สภากทม.ประชุมแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและสังคม ณ จังหวัดฟูกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น

วันที่ 29 พฤษภาคม 2567 เวลา 13:00 น. ตามเวลาท้องถิ่นจังหวัดฟูกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร และนางชญาดา วิภัติภูมิประเทศ รองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่หนึ่ง พร้อมด้วยคณะผู้แทนสภากรุงเทพมหานครเข้าร่วมประชุมหารือแลกเปลี่ยนความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจแบะสังคมในประเด็นหัวข้อ Fukuoka City Startup Center . การพัฒนาเมืองที่ส่งเสริมการประกอบธุรกิจเมืองฟุกุโอกะได้พยายามขยายขอบเขตประกอบการและจับความต้องการของสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากพร้อมทั้งส่งเสริมธุรกิจให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้น เช่น การก้าวเข้าสู่เวทีโลกและการขยายขนาดของธุรกิจสตาร์ทอัพ ฯลฯ และการผลิกโฉมธุรกิจ sme เดิมที่มีอยู่แล้ว โดยดำเนินการประสานงานร่วมมือกันและกันกับร้านกาแฟสตาร์ทอัพและ Fukuoka Growth Next ที่เป็นศูนย์สนับสนุนธุรกิจสตาร์ทอัพในรูปแบบการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน . โดยที่จังหวัดฟูกุโอกะถูกจัดเป็น 6 เขตพิเศษเชิงกลยุทธ์แห่งชาติ เป็นภูมิภาคที่กำหนดเป็นพิเศษ ซึ่งมีการดำเนินการปฏิรูป…

Read More

สภากทม. ประชุมแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านสาธารณสุข ณ จังหวัดฟูกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น

วันที่ 29 พฤษภาคม 2567 เวลา 9:00 น. ตามเวลาท้องถิ่นจังหวัดฟูกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น นายวิรัตน์มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร และนางชญาดา วิภัติภูมิประเทศ รองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่หนึ่ง พร้อมด้วยคณะผู้แทนสภากรุงเทพมหานครเข้าร่วมประชุมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นหัวข้อระบบประกันการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ณ ห้องประชุม ศาลาว่าการจังหวัดฟูกุโอกะ . Preventive Long-Term Care : PLC เป็นการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวเชิงป้องกันและเป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือจากจังหวัดฟูกุโอกะ ในการถ่ายทอดความรู้การป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแอและโรคสมองเสื่อม จากผู้นำชุมชนสู่ชุมชนอย่างยั่งยืนโดยไม่ต้องให้สูงวัยก็เริ่มบริหารได้เพื่อสุขภาพที่ดีของเราเอง ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างกรุงเทพมหานครกับจังหวัดฟูกุโอกะตามกรอบความสัมพันธ์ฉันมิตร ในระยะเวลาที่ผ่านมาฝ่ายฟูกุโอกะได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาหารือกับคณะกรรมการโครงการของฝ่ายกทม. (Instructions) และ Sumerty trainers โดยให้ความรู้ฝึกทักษะผู้ฝึกสอน การออกกำลังกายที่สอดคล้องกับบริบทสังคมไทยเพื่อป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงและโรคภาวะสมองเสื่อม (ที่เรียกว่า locomotive และ cognise)…

Read More

สภากทม. ประชุมแลกเปลี่ยนทางด้านวัฒนธรรม ณ เมืองฟูกุโอะ ประเทศญี่ปุ่น

วันที่ 28 พ.ค. 67 เวลา 13.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นในประเทศญี่ปุ่น คณะผู้แทนสภากรุงเทพมหานคร นำโดยนายวิรัตน์ มีนชัยนันต์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรม ณ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติคิวชูจังหวัดฟูกุโอกะ โดยมีผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติชิวชูและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ . พิพิธภัณฑ์แห่งชาติชิวชูเดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ที่สร้างขึ้น ณ เมืองดาไซฟุ ต่อมาได้ย้ายมาตั้งที่เมืองฟูกุโอกะ พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีรูปแบบการบริหารจัดการขึ้นตรงกับเทศบาลเมืองฟูกุโอกะ (ท้องถิ่น) และให้รับงบประมาณจากเทศบาลเมืองฟูกุโอกะ พิพิธภัณฑ์แห่งชาติชิวชูนับเป็นพิพิธภัณฑ์เฉพาะทางที่เน้นการจัดแสดงหลักฐานทางโบราณคดี ที่แสดงให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของเกาะคิวชู นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังนับเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นหนึ่งหน่วยงานหลักในด้านการสำรวจ ขุดดินและศึกษาทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีของเกาะคิวชู ดังนั้นการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์จึงค่อนข้างมีภารกิจที่ครอบคลุมและเบ็ดเสร็จในตัวเอง มีบุคลากรทั้งในส่วนการบริหารจัดการ นักโบราณคดี พันธรักษ์ รวมถึงนักอนุรักษ์และอื่นๆ ทำให้มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงานในทุกขั้นตอน มีกรอบและแนวทางการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลกลาง ที่สื่อผ่านมายังศาลปกครองส่วนท้องถิ่น . จากนั้นคณะฯ ได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชมในส่วนต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์…

Read More

สภากทม.ร่วมกิจกรรมส่งเสริมการปลูกป่า ณ อุทยานแห่งชาติมองโกเลีย กรุงอูลานบาตอร์

นายจิรเสกข์ วัฒนะมงคล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตธนบุรี คณะสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ร่วมกิจกรรมการปลูกต้นไม้ ณ ศูนย์อุทยานแห่งชาติมองโกเลีย เพื่อแสดงสัญลักษณ์การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองสภา . โดยต้นไม้ที่ปลูกในวันนี้จะมีป้ายระบุว่าได้รับการปลูกโดยคณะเดินทางจากสภากรุงเทพมหานคร ซี่งศูนย์อุทยานฯ แห่งนี้มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 900 ไร่ และได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่ใช้งาน สร้างเป็นพื้นที่สีเขียวเพียงจำนวน 200 ไร่เท่านั้น ดังนั้น การพัฒนาโครงการก่อสร้างอุทยานฯ และร่วมกันปลูกต้นไม้ต่อไปจึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับชาวเมืองอูลานบาตอร์ ------------------------------

Read More

สภากทม.แลกเปลี่ยนความร่วมมือระดับทวิภาคีด้านการวิจัยและการวิเคราะห์นโยบายร่วมกับสภากรุงอูลานบาตอร์

สภากทม.แลกเปลี่ยนความร่วมมือระดับทวิภาคีด้านการวิจัยและการวิเคราะห์นโยบายร่วมกับสภากรุงอูลานบาตอร์ นายจิรเสกข์ วัฒนะมงคล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตธนบุรี คณะสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการวิจัยและนโยบาย ณ ศูนย์การวิจัยและวิเคราะห์นโยบายของกรุงอูลานบาตอร์ . ซึ่งศูนย์การวิจัยและวิเคราะห์นโยบายของกรุงอูลานบาตอร์ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2565 ตามมาตรา 49.1 ทางกฎหมายของอูลานบาตอร์ เมืองหลวงของประเทศมองโกเลีย มีหน้าที่ศึกษาประวัติศาสตร์และปัญหาการพัฒนาเมือง รวมถึงแนวโน้มการขยายตัวของเมือง การพัฒนาเมือง ประชากร และการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีการพัฒนาด้านนโยบายและงานวิจัยต่างๆ เป็นต้นมา . ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 ศูนย์ฯ ได้ดำเนินงานวิจัยจำนวน 14 งาน ปี พ.ศ. 2566 จำนวน 119 งาน และปี…

Read More

สภากทม. เข้าเยี่ยมคารวะประธานสภากรุงอูลานบาตอร์ ประชุมแลกเปลี่ยนความร่วมมือระดับทวิภาคีเพื่อกระชับความสัมพันธ์สภาบ้านพี่เมืองน้อง

(22 พฤษภาคม 2567) เวลา 09.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศมองโกเลีย นายจิรเสกข์ วัฒนะมงคล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตธนบุรี ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการสภา พร้อมด้วยคณะผู้แทนจากสภากรุงเทพมหานคร นายภิมุข สิมะโรจน์ เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และนายอาฤทธิ์ ศรีทอง รองผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม เข้าเยี่ยมคารวะนายบัตบายาสกาลัน จันท์สาน (Mr.Batbayasgalan Jantsan) ประธานสภากรุงอูลานบาตอร์ และคณะผู้แทนสภากรุงอูลานบาตอร์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์และร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนความร่วมมือระดับทวิภาคีภายใต้กรอบความสัมพันธ์สภาบ้านพี่เมืองน้อง . ในการนี้นายจิรเสกข์ วัฒนะมงคล ได้กล่าวขอบคุณประธานสภากรุงอูลานบาตอร์และคณะผู้แทนที่ให้การต้อนรับอย่างดี พร้อมทั้งกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการเดินทางมาในครั้งนี้เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกรุงเทพมหานครและกรุงอูลานบาตอร์เพื่อประโยชน์ในด้านการพัฒนาและบริหารกิจการเมืองร่วมกันในอนาคต . ภายหลังจากการเข้าเยี่ยมคารวะ คณะผู้แทนฯ ได้เข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในหัวข้อด้านการจัดการศึกษาในภาครัฐ ณ สถาบันพัฒนาอาจารย์ กรุงอูลานบาตอร์ โดยรัฐธรรมนูญแห่งมองโกเลียซึ่งได้รับการรับรองในปี พ.ศ.…

Read More
Back To Top