skip to Main Content
สภากทม.หารือกรุงปักกิ่ง เตรียมแลกเปลี่ยนข้อมูลเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับพัฒนาระบบขนส่งกทม.ในอนาคต

สภากทม.หารือกรุงปักกิ่ง เตรียมแลกเปลี่ยนข้อมูลเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับพัฒนาระบบขนส่งกทม.ในอนาคต

📍นางชญาดา วิภัติภูมิประเทศ รองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่หนึ่ง ร่วมประชุมกับนายเซียง หยูเยา ผู้บริหารสำนักงานการขับขี่อัตโนมัติ กรุงปักกิ่ง ในประเด็นการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการจราจรและขนส่ง โดยมีคณะสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม ณ สำนักงานการขับขี่อัตโนมัติ กรุงปักกิ่ง
.
🚘นายเซียงฯ กล่าวว่า หลังจากที่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จีนได้พัฒนาเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนอัจฉริยะ ที่ทำให้ยานยนต์สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองขณะขับขี่ เพื่อรับมือกับสถานการณ์ในครั้งนั้น เพื่อใช้ในการขนส่งอาหารและเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สามารถแก้ไขข้อกังวลด้านความปลอดภัยสำหรับการขับขี่อัตโนมัติ และต่อยอดการให้บริการเชิงพาณิชย์ในรูปแบบของรถแท๊กซี่ รับ-ส่ง ผู้โดยสารในพื้นที่ ๆ กำหนด และขณะนี้สำนักงานพื้นที่สาธิตการขับขี่อัตโนมัติระดับสูงของกรุงปักกิ่งได้เปิดตัวการทดสอบบนท้องถนนของรถตำรวจสายตรวจไร้คนขับเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยรถลาดตระเวนไร้คนขับไฟฟ้ามีเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติระดับ 4 สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ได้ภายใน 30 วินาที และมีระยะการขับขี่ 100 กม. และขณะนี้ได้ทดสอบกับรถขนส่งสินค้าไร้คนขับโดยได้ทดลองวิ่งบนทางด่วนในภูมิภาคปักกิ่ง-เทียนจิน-เหอเป่ย ซึ่งเป็นเส้นทางหลักของเขตเศรษฐกิจทางตอนเหนือของจีนอีกด้วย
.
ปัจจุบันการทดสอบรถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับของกรุงปักกิ่งยังเป็นการทดสอบเฉพาะในพื้นที่ที่กำหนด ซึ่งยังต้องยกระดับทางเทคโนโลยีเพื่อให้รถยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับสามารถรับมือกับสภาพแวดล้อมท้องถนนที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น สามารถพัฒนาคุณภาพการให้บริการในอนาคต และขยายเขตนำร่องเพิ่มขึ้นและขยายการให้บริการเชิงพาณิชย์ให้กว้างขวางขึ้น ภายใต้เงื่อนไขที่ควบคุมความปลอดภัย
.
🌟ทั้งนี้ คณะสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร ได้ร่วมหารือในประเด็นดังกล่าว ว่า การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาระบบคมนาคมของกรุงปักกิ่ง น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการพัฒนาด้านการจราจรและขนส่งของกรุงเทพมหานคร โดยเฉพาะรถบริการสาธารณะ จึงนับเป็นนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่น่าศึกษาและนำมาพัฒนาเพื่อความสะดวกและความปลอดภัยของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งสภากรุงเทพมหานคร โดยคณะกรรมการการจราจรและการขนส่ง จะได้ศึกษาและ ผลักดันให้ฝ่ายบริหารกรุงเทพมหานครพัฒนานวัตกรรมระบบโครงข่ายคมนาคม ให้มีมาตรฐานงานวิศวกรรมจราจร วิศวะกรรมด้านการขนส่งต่อไป
———————————

ผู้ชมทั้งหมด 255 ครั้ง, ผู้ชมวันนี้ 2 ครั้ง

This Post Has 0 Comments
กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น
Back To Top