skip to Main Content
สภากทม. ร่วมพิธีถวายผ้ากฐินพระราชทานกรุงเทพมหานคร ประจำปี พุทธศักราช 2567

สภากทม. ร่วมพิธีถวายผ้ากฐินพระราชทานกรุงเทพมหานคร ประจำปี พุทธศักราช 2567

✨ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐินให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กร สมาคม มูลนิธิ บริษัท ห้างร้าน และบุคคลทั่วไป นำไปถวายพระสงฆ์ผู้จำพรรษา ณ พระอารามหลวงทั่วราชอาณาจักร โดยกรุงเทพมหานครขอรับพระราชทานผ้ากฐินไปทอดถวายพระสงฆ์จำพรรษา ในวันที่ 12 พ.ย. 67 เวลา 14.00 น. ณ วัดชัยชนะสงคราม แขวงสัมพันธวงศ์ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร
.
👉 (12 พ.ย. 67) โดยกรุงเทพมหานครได้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินพร้อมทั้งเครื่องบริวารพระกฐิน ประจำปีพุทธศักราช 2567 ไปทอดถวายพระสงฆ์จำพรรษา ในวันอังคารที่ 12 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งการนี้ สภากรุงเทพมหานคร นำโดยนายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ประธานสภากรุงเทพมหานคร นายวิพุธ ศรีวะอุไร รองประธานสภากรุงเทพมหานคร คนที่หนึ่ง นายพินิจ กาญจนชูศักดิ์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตสัมพันธวงค์ ร่วมพิธีถวายผ้ากฐินพระราชทานของกรุงเทพมหานคร ประจำปีพุทธศักราช 2567 โดยมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วยปลัดกรุงเทพมหานคร คณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร ตลอดจนประชาชนผู้มีจิตศรัทธาร่วมพิธี พร้อมทั้งมอบเงินบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลกฐินพระราชทานกรุงเทพมหานคร ประจำปีพุทธศักราช 2567 จากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เป็นจำนวน 1,879,843.50 บาท
.
✨ ทั้งนี้ วัดชัยชนะสงคราม เดิมชื่อ “วัดตึก” สร้างขึ้นในบริเวณบ้านและที่ดินของเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สมุหนายกและแม่ทัพใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 3 ภายหลังจากเดินทางไปรบชนะญวนและเขมรกลับมา ได้มีจิตศรัทธายกที่ดินและบ้านถวายเป็นวัด ตั้งชื่อว่า “วัดชัยชนะสงคราม” เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งการมีชัยชนะสงคราม ตั้งอยู่ในพื้นที่คลองถม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยวัดนี้ได้เป็นวัดราษฎร์มานานจนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับเป็นอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ซึ่งวัดนี้นอกจากจะมีความพิเศษที่ความเป็นมาอันหมายถึงชัยชนะแล้ว แต่ความพิเศษอีกประการคือชื่อเล่นที่ชาวบ้านเรียกขานกันว่า “กุฏิ” ที่ล้วนแล้วแต่สร้างเป็นอาคารคอนกรีต อันเป็นวิธีการปลูกสร้างที่ใหม่และแปลกสำหรับคนสมัยนั้นเป็นอย่างยิ่ง และชาวบ้านในแถบนั้นก็ยังคงเรียกวัดชัยชนะสงครามนี้ว่า “วัดตึก” เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
——————————

ผู้ชมทั้งหมด 67 ครั้ง, ผู้ชมวันนี้ 2 ครั้ง

This Post Has 0 Comments
กรุณาเข้าสู่ระบบ เพื่อแสดงความคิดเห็น
Back To Top