สรุปมติที่ประชุมจากการพิจารณาความคิดเห็นของประชาชน ตามโครงการนำข้อมูลความต้องการจากประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร
สรุปมติที่ประชุมจากการพิจารณาความคิดเห็นของประชาชน
ตามโครงการนำข้อมูลความต้องการจากประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร
ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานคร ได้กำหนดตัวชี้วัดองค์ประกอบที่ 1 ระดับความสำเร็จในการนำข้อมูลความต้องการจากประชาชนเข้าสู่
การพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร โดยได้ดำเนินการทอดแบบสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนในรูปแบบออนไลน์ จำนวน 1 ครั้ง ตามแนวทางและประเด็นที่กำหนด โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายจำนวน 2,450 ชุด ได้รับกลับมาทั้งสิ้นจำนวน 1,846 ชุด คิดเป็นร้อยละ 75.35
ประธานสภากรุงเทพมหานครได้มอบหมายให้คณะกรรมการสามัญประจำสภากรุงเทพมหานครที่เกี่ยวข้องนำความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนเข้าสู่การประชุมในแต่ละคณะฯ และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้
- ด้านการศึกษา
คณะกรรมการการศึกษา ได้ดำเนินการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565 เพื่อรับทราบความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร ด้านการศึกษา และได้มีมติมอบสำนักการศึกษานำประเด็นดังกล่าวไปพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป ดังนี้
๑) กรุงเทพมหานครควรปรับโครงสร้างและแผนการบริหารการศึกษา เพื่อยกระดับการบริหารโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยให้สำนักการศึกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษาเช่นเดียวกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยเป็นการบริหารการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
2) การพิจารณาแยกโรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนน้อย โดยการจัดเป็นโรงเรียนในระดับอนุบาล ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และการจัดการศึกษาพิเศษเพื่อให้การบริหารจัดการงบประมาณ การจัดการเรียนรู้ และการบริหารบุคลากรทางการศึกษาในการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ และเกิดประโยชน์กับการศึกษาของกรุงเทพมหานคร
๓) การพิจารณาผู้ทรงคุณวุฒิมาเป็นคณะกรรมการการประเมินเลื่อนวิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
ควรพิจารณาข้าราชการครูในสังกัดกรุงเทพมหานครที่ได้รับวิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในบริบทของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครไม่จำเป็นจะต้องเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในระดับอุดมศึกษาเป็นคณะกรรมการ
การประเมินฯ แต่อย่างใด
๔) การจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานครในทุกระดับชั้น ทุกช่วงวัย ควรเป็นภารกิจของสำนักการศึกษาหน่วยงานเดียวในการบริหารจัดการศึกษาของกรุงเทพมหานครไม่ควรแยกช่วงวัยเป็นภารกิจของหน่วยงานอื่น ๆ
ของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน โดยดูแลเด็กที่มีอายุตั้งแต่ ๒ ปี แต่ไม่เกิน ๖ ปี ซึ่งอยู่ใน
ความรับผิดชอบของสำนักพัฒนาสังคม
5) พิจารณารางวัลให้กับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีความโดดเด่นในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านกีฬา
ด้านดนตรี ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านเกษตรกรรม ด้านคหกรรมด้านเทคโนโลยี เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องเป็นโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีเท่านั้นเพื่อเป็นกำลังใจให้กับครูในการพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
๖) การปรับอาคารเรียนให้เป็นบ้านพักครูเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ครูไม่โอนย้ายกลับภูมิลำเนา ซึ่งครูส่วนใหญ่เป็นคนต่างจังหวัด เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนครู เนื่องจากค่าครองชีพสูง
7) สำนักการศึกษาควรจัดทำประชาสัมพันธ์การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรสองภาษา กิจกรรมต่าง ๆ
ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครในสื่อโซเชียล เพื่อประชาสัมพันธ์โรงเรียนสังกัดซึ่งมีศักยภาพ มีชื่อเสียงให้เป็นที่ยอมรับ เพื่อให้ผู้ปกครองนำเด็กมาเข้าเรียนในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
- ด้านการโยธาและผังเมือง
คณะกรรมการการโยธาและผังเมือง ได้ดำเนินการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันพุธที่ 7 กันยายน 2565 เพื่อรับทราบความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร ด้านการโยธาและผังเมือง และได้มีมติที่ประชุมเห็นชอบ ดังนี้
1) สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง นำประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านการโยธาและผังเมือง ยกตัวอย่างเช่น การควบคุมและตรวจสอบการพัฒนาเมืองให้เป็นไปตามผังเมืองรวม เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ในเขตกรุงเทพมหานคร การจัดระเบียบและการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์การเติบโตของเมืองเป็นไปในทิศทางที่เหมาะสมและไม่เกิดผลกระทบเสียหาย วางแผนการจัดระเบียบระบบร้อยสายระบบสาธารณูปโภคลงใต้ดิน วางแผนการปรับปรุงภูมิทัศน์ต่าง ๆ การวางแนวทางแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกรุงเทพมหานครและต่อประชาชนโดยรวมต่อไป
๒) มอบคณะอนุกรรมการการโยธาและผังเมืองทั้ง ๑๒ คณะ นำประเด็นความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนในด้านการโยธาและผังเมือง เพื่อประกอบการพิจารณาติดตามงานให้เกิดประโยชน์ต่อกรุงเทพมหานครและต่อประชาชนโดยรวมต่อไป
๓) สำนักการโยธา คณะกรรมการฯ จะเชิญเข้าร่วมประชุมเพื่อหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านการโยธาและผังเมือง ยกตัวอย่างเช่น การควบคุมและตรวจสอบอาคาร ถนน และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ การจัดระเบียบระบบร้อยสายระบบสาธารณูปโภคลงใต้ดิน การปรับปรุงผิวจราจร ภูมิทัศน์ต่าง 1 รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกรุงเทพมหานครและต่อประชาชนโดยรวมต่อไป
- ด้านการสาธารณสุข
คณะกรรมการการสาธารณสุข ได้ดำเนินการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2565 เพื่อรับทราบความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร ด้านการสาธารณสุข และได้มีมติที่ประชุมเห็นชอบ ดังนี้
๑) สำนักการแพทย์ พัฒนาระบบการบริการสาธารณสุขและการแพทย์ให้ครอบคลุมทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร ประชาชนทุกคนเข้าถึงการบริการและการรักษา การส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี และพัฒนาประสิทธิภาพการป้องกันโรคติดต่อในเขตเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาขีดความสามารถของหน่วยงานและบุคลากรทางการแพทย์
การบริการด้วยความรวดเร็ว ให้การรักษาคนป่วยฉุกเฉินได้รวดเร็วและทันเหตุการณ์ เพิ่มหมอเฉพาะทาง
๒) มอบคณะอนุกรรมการการสาธารณสุขทั้ง ๑๒ คณะ นำประเด็นความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนในด้านการแพทย์และด้านการสาธารณสุขไปพิจารณาติดตามงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
๓) สำนักอนามัย และมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จะเชิญเข้าร่วมประชุมเพื่อหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้องด้านการแพทย์และสาธารณสุข รวมทั้งเสนอแนะเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
- ด้านการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม
คณะกรรมการการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการประชุมครั้งที่ 3/2565
เมื่อวันอังคารที่ 6 กันยายน 2565 เพื่อรับทราบความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร ด้านการรักษาความสะอาดและสิ่งแวดล้อม และได้มีมติที่ประชุมเห็นชอบมอบสำนักสิ่งแวดล้อมพิจารณานำความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินงานของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งชี้แจงกับผู้เกี่ยวข้องในการประชุมระหว่างผู้บริหารสำนักสิ่งแวดล้อมกับหัวหน้าฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
- ด้านการเศรษฐกิจ การเงิน การคลังและการงบประมาณ
คณะกรรมการการเศรษฐกิจ การเงิน การคลังและการงบประมาณ ได้ดำเนินการประชุมครั้งที่ 3/2565
เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กันยายน 2565 เพื่อรับทราบความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร ด้านการเศรษฐกิจ การเงิน การคลังและการงบประมาณ และได้มีมติที่ประชุมเห็นชอบ ดังนี้
1) สำนักพัฒนาสังคม เกี่ยวกับเรื่องการส่งเสริมสินค้า ผลิตภัณฑ์ของชุมชน การจัดจำหน่ายสินค้าของชุมชน การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น การส่งเสริมชุมชนในการหารายได้การส่งเสริมความร่วมมือของผู้ประกอบการกับภาครัฐ การยกระดับผลิตภัณฑ์ของกรุงเทพมหานคร (Bangkok Brand) สู่สากล ให้มีค่าตอบแทนให้ประธานกรรมการชุมชนหรือสวัสดิการแก่จิตอาสาทุกคน และการจัดให้มีแหล่งเงินกู้ที่กู้ได้ง่ายสำหรับผู้ค้าหาบเร่แผงลอยโดยที่ไม่ต้องมีการค้ำประกันเพื่อที่จะได้นำมาประกอบอาชีพ
๒) สำนักงบประมาณกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับเรื่องการขอให้เปิดข้อมูลงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ประชาชนทั่วไปสามารถตรวจสอบได้สะดวก รวมถึงการจัดทำข้อมูลงบประมาณรายจ่ายให้เข้าใจได้ง่าย และนำเสนอผ่านสื่อโซเชียลให้แพร่หลาย
๓. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับเรื่องการต่อต้านการคอรัปชั่นในระบบราชการ และการสร้างจิตสำนึกข้าราชการทั้งด้านคุณภาพการทำงาน การบริการให้เต็มศักยภาพและเป็นมาตรฐานสากล
- ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย
คณะกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย ได้ดำเนินการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2565 เพื่อรับทราบความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร ด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อย และได้มีมติที่ประชุมเห็นชอบ ดังนี้
๑) มอบคณะกรรมการการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยนำประเด็นความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนในด้านการปกครองและรักษาความสงบเรียบร้อยไปพิจารณาติดตามงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
๒) คณะกรรมการฯ หรือคณะอนุกรรมการฯ จะเชิญสำนักงานเขตเข้าร่วมประชุม เพื่อหารือในประเด็นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
- ด้านการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม
คณะกรรมการการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมได้ดำเนินการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2565 เพื่อรับทราบความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร ด้านการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม และได้มีมติที่ประชุมเห็นชอบมอบสำนักพัฒนาสังคมนำประเด็นความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนในด้านการพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมไปพิจารณาดำเนินการ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนต่อไป
- ด้านการจราจรและการขนส่ง
คณะกรรมการการจราจรและการขนส่งได้ดำเนินการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2565 เพื่อรับทราบความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร ด้านการจราจรและการขนส่ง และได้มีมติที่ประชุมเห็นชอบ ดังนี้
1) มอบคณะกรรมการการจราจรและการขนส่ง นำประเด็นความคิดเห็นและความต้องการประชาชนในด้านการจราจรและการขนส่งไปพิจารณาติดตามงานโดยประสานกับสำนักการจราจรและการขนส่ง ดำเนินการในประเด็นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
๒) มอบคณะอนุกรรมการการจราจรและการขนส่ง ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการฯ ดำเนินการเชิญสำนักงานเขตในพื้นที่เขตรับผิดชอบเข้าร่วมประชุมเพื่อหารือประเด็นที่เกี่ยวข้องในด้านการจราจรและการขนส่ง ตามความเห็นและความต้องการของประชาชนในด้านต่าง ๆ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
- ด้านการระบายน้ำ
คณะกรรมการการระบายน้ำได้ดำเนินการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน 2565 เพื่อรับทราบความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร ด้านการระบายน้ำ และได้มีมติที่ประชุมเห็นชอบ ดังนี้
๑) สำนักการระบายน้ำ ได้ดำเนินการตามภารกิจด้านการระบายน้ำโดยการบำรุงรักษาความสะอาดคู คลอง บึงรับน้ำ ชุดลอกและเปิดทางน้ำไหล การเก็บขยะ วัชพืชผักตบชวา ในลำราง ดู คลอง บึงรับน้ำ และแม่น้ำ การติดตั้งและสนับสนุนเจ้าหน้าที่เฝ้าเครื่องผลักดันน้ำและเครื่องสูบน้ำ การตั้งหน่วยเร่งด่วนสนับสนุนการเก็บขยะหน้าตะแกรง และริมถนนตอนฝนตก การสร้างทำนบกั้นน้ำ การสนับสนุนสำนักงานเขตจัดเก็บผักตบชวา การล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร
๒) มอบคณะกรรมการการระบายน้ำ นำประเด็นความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนในด้านการระบายน้ำ ไปพิจารณาติดตามงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
๓) สำนักงานเขต คณะกรรมการฯ หรือคณะอนุกรรมการด้านการระบายน้ำจะพิจารณาเชิญเข้าร่วมประชุม เพื่อหารือประเด็นที่เกี่ยวข้องในด้านการระบายน้ำ รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
- ด้านการวัฒนธรรม การท่องเที่ยวและการกีฬา
คณะกรรมการการวัฒนธรรม การท่องเที่ยวและการกีฬา ได้ดำเนินการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565 เพื่อรับทราบความคิดเห็นและความต้องการของประชาชนเข้าสู่การพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร ด้านการวัฒนธรรม การท่องเที่ยวและการกีฬา และได้มีมติมอบสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวนำประเด็นดังกล่าวไปพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป
ผู้ชมทั้งหมด 413 ครั้ง, ผู้ชมวันนี้ 1 ครั้ง