skip to Main Content

สภากทม.เร่งรัดกทม. แก้ไขปัญหาฝาบ่อพักท่อ ย้ำประชาชนทุกคนต้องปลอดภัย

(3 ก.ค.67) ในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยที่สาม (ครั้งที่ 1) ประจำปีพุทธศักราช 2567 นายกิตติพงศ์ รวยฟูพันธ์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตทุ่งครุ เสนอญัตติขอให้กรุงเทพมหานครกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาฝาบ่อพักท่อในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อความปลอดภัยของประชาชน . เนื่องจากเหตุการณ์ที่มีประชาชนเสียชีวิตจากการพลัดตกลงไปในบ่อพักท่อร้อยสายไฟใต้ดิน บริเวณเกาะกลางถนนปากซอยลาดพร้าว 49 ในพื้นที่เขตวังทองหลาง สาเหตุมาจากการไฟฟ้านครหลวงได้เปิดฝาบ่อแล้วนำไม้อัดที่ชำรุดมาปิดปากบ่อ รวมถึงกรณีอื่นๆ ที่เกิดจากฝาท่อชำรุดมีผู้ได้รับบาดเจ็บในหลายพื้นที่ ฝาท่อสูญหายจากการโจรกรรม ฝาท่อมีรูปแบบที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดเสียงดังรบกวนประชาชนในละแวกนั้น ซึ่งสะท้อนถึงความไม่ปลอดภัยของประชาชน ทั้งนี้ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีบ่อพักท่อระบายน้ำ บ่อพักท่อสายไฟฟ้า สายสื่อสาร บนพื้นผิวจราจรและทางเท้าจำนวนมาก ทั้งของกรุงเทพมหานครและหน่วยงานด้านสาธารณูปโภคอื่น ๆ เมื่อเกิดปัญหา หรือกรณีการดำเนินงานของหน่วยงานด้านสาธารณูปโภค เช่น การประปานครหลวง การไฟฟ้านครหลวง เปิดฝาบ่อแล้วไม่ปิดฝาให้สนิท ตลอดจนแสงสว่างในบริเวณนั้นไม่เพียงพอ…

Read More

เสนอกทม.ทบทวนตั้งคณะขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเขต

ในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยที่สาม (ครั้งที่ 1) ประจำปีพุทธศักราช 2567 วันนี้ (3 ก.ค.67) นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง เสนอญัตติ เรื่อง ขอให้กรุงเทพมหานครทบทวนการดำเนินงานคณะขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเขต . “เนื่องจากคณะขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเขต หรือชื่อเดิม “สภาคนเมืองประจำเขต” มีบทบาทหน้าที่ซ้ำซ้อนกับการประชุมคณะกรรมการชุมชน ซึ่งจัดเป็นประจำทุกเดือนอยู่แล้ว ทำให้มีอำนาจหน้าที่ที่ไม่ชัดเจน และถือเป็นการเพิ่มภาระให้กับสำนักงานเขต ทั้งยังมีการจัดตั้งคณะทำงานต่าง ๆ ที่มีความทับซ้อนกับหน่วยงานที่มีในกรุงเทพมหานครอยู่แล้ว เช่น คณะกรรมการชุมชน มีการจัดตั้งคณะทำงานด้านความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และความปลอดภัยของเมือง ซึ่งกรุงเทพมหานครก็มีสำนักสิ่งแวดล้อม หรือมีฝ่ายรักษาความสะอาดของสำนักงานเขตอยู่แล้ว จึงอยากให้กรุงเทพมหานครทบทวนการจัดตั้งคณะขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาเขตว่ามีหน้าที่ซ้อนทับกันหรือไม่” นายสุทธิชัย กล่าว . จากนั้นสมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้ร่วมกันอภิปรายสนับสนุนญัตตินี้…

Read More

เร่งรัดกทม.สำรวจปรับปรุงลำกระโดง เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

(3 ก.ค.67) ในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยที่สาม (ครั้งที่ 1) ประจำปีพุทธศักราช 2567 นายสุทธิชัย วีระกุลสุนทร สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตจอมทอง เสนอญัตติเรื่องขอให้กรุงเทพมหานครสำรวจลำกระโดงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและป้องกันการรุกล้ำที่สาธารณะ . เนื่องจากลำกระโดงในพื้นที่กรุงเทพมหานครหลายแห่งมีการสร้างบ้านรุกล้ำทำให้กีดขวางทางระบายน้ำ รวมถึงเมื่อมีการขุดลอกลำกระโดงหลายแห่ง ได้นำดินโคลนไปทิ้งบริเวณริมตลิ่ง เมื่อเกิดฝนตก ดินจะไหลลงไปในลำกระโดงเหมือนเดิม ซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาที่ไม่ยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีการปล่อยปละละเลยขาดการดูแลรักษาทำให้ลำกระโดงรกร้าง ตื้นเขิน บางแห่งเปลี่ยว เกิดความไม่ปลอดภัยแก่ประชาชนที่อาศัยบริเวณนั้น . “กรุงเทพมหานครควรให้ความสำคัญกับประเด็นน้ำท่วมเป็นปัญหาหลัก ฝ่ายบริหารต้องกำชับให้ทุกเขตสำรวจลำกระโดงทุกแห่งเพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น โดยวางแผนดำเนินการขุดลอกลำกระโดงพร้อมสร้างดาดท้องคลอง รวมทั้งติดตั้งราวกันตกและไฟฟ้าส่องสว่างให้ทั่วถึงในลำกระโดงที่เสี่ยงต่อการรุกล้ำก่อนแล้วจึงขยายจำนวนให้มากขึ้นในปีงบประมาณถัดไป จนครอบคลุมทุกแห่ง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและป้องกันการรุกล้ำที่สาธารณะอย่างยั่งยืน เพิ่มประสิทธิภาพด้านการระบายน้ำและความปลอดภัยแก่ประชาชน และกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อนำลำกระโดงส่วนกลางกลับมาให้พี่น้องประชาชนสามารถใช้ร่วมกันได้” . นายสุทธิชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในพื้นที่เขตจอมทอง…

Read More

คกก.วิสามัญศึกษายุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย เสนอรายงานผลการศึกษาต่อที่ประชุมสภากทม.

(3 ก.ค.67) ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยที่สาม (ครั้งที่ 1) ประจำปีพุทธศักราช 2567 นางสาวภัทรภรณ์ เก่งรุ่งเรืองชัย สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตบางซื่อ ในฐานะประธานคณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษาแนวทางการให้บริการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัยในสถานพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อวันพุธ 17 มกราคม 2567 รายงานผลการศึกษาของคณะกรรมการวิสามัญฯ ซึ่งได้ศึกษาข้อเท็จจริง และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมชี้แจงและให้ข้อมูล . ผลการศึกษา ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2564 มาตรา 301 และ 305 ระบุว่าให้ผู้หญิงมีสิทธิยุติการตั้งครรภ์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยมีสถานพยาบาลให้บริการยุติการตั้งครรภ์ จำนวน 110 แห่ง ใน 47…

Read More

ส.ก.ทุ่งครุ เร่งผลักดันโรงพยาบาลบนถนนพุทธบูชา เพิ่มคุณภาพชีวิตคนทุ่งครุ

(3 ก.ค.67) ในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยที่สาม (ครั้งที่ 1) นายกิตติพงศ์ รวยฟูพันธ์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานครเขตทุ่งครุ ได้ยื่นกระทู้ถามสด เรื่อง ผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้างโรงพยาบาลในพื้นที่เขตทุ่งครุ โดยกล่าวว่า ในพื้นที่เขตทุ่งครุนั้น ไม่มีทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ซึ่งเมื่อเกิดภาวะวิกฤติ เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ทำให้เห็นความสำคัญของโรงพยาบาลในพื้นที่ที่จำเป็นต้องมี ซึ่งผู้บริหารกรุงเทพมหานครได้กำหนดพื้นที่ก่อสร้างโรงพยาบาลแล้วบริเวณโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร (อาทร สังขะวัฒนะ) เนื้อที่ 112 ไร่ ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยจะแบ่งพื้นที่เพื่อก่อสร้างโรงพยาบาลประมาณ 10 ไร่ อยู่ติดถนนพุทธบูชา รองรับผู้ป่วยได้ 72 เตียง ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอขอจัดสรรงบประมาณการก่อสร้างโดยจะเข้าสู่การพิจารณาของสภากกรุงเทพมหานครในปีนี้ . สำหรับความจำเป็นที่ต้องก่อสร้างโรงพยาบาลในบริเวณดังกล่าว เนื่องจากตั้งอยู่บนถนนพุทธบูชา เป็นจุดศูนย์กลางหรือไข่แดงของเขตทุ่งครุซึ่งมีสถานศึกษา สวนสาธารณะ…

Read More

ส.ก.หนองจอก ติดตามผู้รับผิดชอบกรณีห้องน้ำศูนย์เด็กเล็กทรุด จากการสร้างเขื่อนคลองแสนแสบ

ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยที่สาม (ครั้งที่ 1) ประจำปีพุทธศักราช 2567 วันนี้ (3 ก.ค.67) ซึ่งมีนายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ประธานสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธาน . นายณรงค์ รัสมี สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก ได้ยื่นกระทู้ถามสดสอบถามเกี่ยวกับศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน ชุมชนแผ่นดินทองนูรุ้ลยากีนได้รับความเสียหายจากการก่อสร้างเขื่อนคลองแสนแสบนครเนื่องเขต ในพื้นที่เขตหนองจอก โดยกล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการใหญ่และมีผลกระทบกับประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวเป็นเวลานาน ซึ่งศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนฯ มีเด็กๆ กว่า 40 ชีวิต และมีศูนย์สุขภาพชุมชนตั้งอยู่ด้วย ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อน . “จากการลงพื้นที่สำรวจความเสียหายจากกรณีดังกล่าว พบว่า ห้องน้ำที่อยู่บริเวณด้านหลังทรุดตัวลง จากการก่อสร้างซึ่งเป็นอันตรายอย่างยิ่ง และภายหลังการปรับปรุงให้ใช้งานได้ชั่วคราวนั้นก็ไม่มีความแข็งแรงและสมบูรณ์ สร้างความเดือดร้อน ให้เด็ก ครู…

Read More

ส.ก.ยานนาวา ฝากพิจารณาความคุ้มค่าการติดโซล่าเซลล์บนอาคารหน่วยงานกทม.

(3 ก.ค.67) เวลา 10.00 น. นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ประธานสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยที่สาม (ครั้งที่ 1) ประจำปีพุทธศักราช 2567 โดยมี สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้บริหารกรุงเทพมหานคร และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม ณ ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร อาคารไอราวัตพัฒนา ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง . ในที่ประชุมสภากรุงเทพมหานคร นายพุทธิพัชร์ ธันยาธรรมนนท์ สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตยานนาวา ได้ยื่นกระทู้ถามสด เรื่อง ขอทราบแนวทางเกี่ยวกับการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Rooftop)…

Read More

ส.ก.ห้วยขวาง ลงพื้นที่แก้ไขปัญหาน้ำท่วม เดินหน้าพัฒนาเยาวราชดูแลนักท่องเที่ยว

(29 มิ.ย.67) นายประพฤทธิ์ หาญกิจจะกุล สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตห้วยขวาง ลงพื้นที่แก้ปัญหาชุมชน พร้อมด้วยโดยมีนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร . โดยวันนี้ คณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการติดตั้งกล้อง CCTV เพื่อความปลอดภัยของชุมชนและป้องกันปัญหาอาชญากรรม ตามโครงการชุมชนเข้มแข็ง ของชุมชนหมู่บ้านซอยสุนทรศิริ และตรวจเยี่ยมหมู่บ้านอยู่เจริญ 779 ถนนประชาราษฎร์บำเพ็ญ เพื่อติดตามการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่ในช่วงฝนตกหนัก เนื่องจากเป็นหมู่บ้านเก่าสร้างมานาน ท่อระบายน้ำมีขนาดเล็ก ประมาณ 0.40 ม. ความยาว 2,220 ม. ทำให้ระบายน้ำได้ช้า รวมทั้งตรวจเยี่ยมห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ห้วยขวาง และตรวจเยี่ยมการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบริเวณซอยประชาราษฎร์บำเพ็ญ 24 . ต่อมา ตรวจเยี่ยมรับฟังปัญหาของชุมชนบึงพระราม 9 พร้อมติดตามการแก้ไขปัญหาขยะในชุมชน บริเวณหน้ามูลนิธิบ้านพระพร…

Read More

สภากทม.ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการศึกษาและด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เมืองยาชิโย

นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ประธานสภากรุงเทพมหานคร นำคณะผู้แทนสภากรุงเทพมหานครเข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการศึกษา โดยมี ผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษาโอวาดะ เมืองยาชิโย ประเทศญี่ปุ่น ให้การต้อนรับและให้ข้อมูล . สำหรับหลักสูตรการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น กำหนดให้นักเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พอเหมาะเป็นการปฏิบัติต่อนักเรียนด้วยความเสมอภาค เน้นในเรื่องความยืดหยุ่น มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กได้มีความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มโอกาสให้นักเรียนได้แสดงออกในสิ่งที่ตนเองชอบ พร้อมสนับสนุนให้ร่วมมือกันทำงานเป็นกลุ่ม นอกจากนี้ ยังปลูกฝังและพัฒนานักเรียนให้มีกรอบความคิดระดับโลก เพื่อที่จะช่วยให้เด็กนักเรียนสามารถสร้างความเป็นอิสระได้ทุกที่ในโลกได้สำเร็จ . ด้านนโยบายการบริหารจัดการของผู้บริหารโรงเรียนได้ตั้งเป้าหมายไว้ภายในปีนี้คือ 1.ส่งเสริมสภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่จะทำให้นักเรียนแต่ละคนตั้งตารอที่จะมาเรียนทุกวันและกลับบ้านด้วยความรู้สึกประสบความสำเร็จ 2.ส่งเสริมและสร้างรากฐานทางวิชาการที่มั่นคงบนพื้นฐานของประสบการณ์การเรียนรู้ และการคิดอย่างอิสระ 3. ดูแลสภาพแวดล้อมทางกายภาพของโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อความปลอดภัย ของนักเรียน 4. สร้างวัฒนธรรมของโรงเรียนที่เคารพสิทธิมนุษยชน ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ และความรู้สึกยุติธรรมให้ปลูกฝังอยู่ในทุกคน 5. ส่งเสริมให้สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของโรงเรียนเอื้อต่อการเรียนรู้ ด้วยการสร้างบรรยากาศที่สงบและสะดวกสบาย 6. ร่วมมือกับผู้ปกครองอย่างแข็งขัน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและทำให้เป็นโรงเรียนที่เชื่อถือได้ .…

Read More

สภากทม. เยี่ยมคารวะนายกเทศมนตรีและประธานสภาเมืองยาชิโย หารือแนวทางสถาปนาสภาบ้านพี่เมืองน้อง

นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ประธานสภากรุงเทพมหานคร นำคณะสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เข้าเยี่ยมคารวะนายโทโมโนริ ฮัตโตริ นายกเทศมนตรีเมืองยาชิโย และนายทาคาชิ สุเอะนากะ ประธานสภาเมืองยาชิโย ณ ศาลาว่าการเทศบาลเมืองยาชิโย ประเทศญี่ปุ่น ในโอกาสเดินทางเข้าร่วมการประชุมทวิภาคีและสานสัมพันธ์แลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ 24 - 27 มิถุนายน 2567 "ในนามของสภากรุงเทพมหานคร รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เดินทางมาเยือนเมืองยาชิโยเพื่อสานความสัมพันธ์ระหว่างเมืองทั้งสอง ซึ่งนับว่าเป็นการเยือนอย่างเป็นทางการครั้งแรกของคณะผู้แทนสภากรุงเทพมหานคร หลังจากที่ท่านได้นำคณะยุวทูตเมืองยาชิโย เข้าเยี่ยมคารวะประธานสภากรุงเทพมหานครเป็นประจำทุกปี และเป็นเมืองที่มีความสัมพันธ์อันดีกับกรุงเทพมหานครมาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 (35 ปี) โดยมุ่งส่งเสริมสันติภาพและการเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่าง รวมถึงความเข้าใจร่วมกันระหว่างเยาวชนของทั้งสองประเทศ การแลกเปลี่ยนคณะยุวทูตมายาวนานถึง 34 รุ่นนั้น เป็นผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม ซึ่งการมาเยือนเมืองยาชิโยในครั้งนี้นับเป็นโอกาสดีที่จะได้หารือถึงแนวทางในการสถาปนาความสัมพันธ์สภาบ้านพี่เมืองน้อง และแลกเปลี่ยนความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ระหว่างกันต่อไปในอนาคต"…

Read More
Back To Top