skip to Main Content

การควบคุมมลพิษทางเสียง

มลพิษทางเสียงเป็นประเด็นสำคัญของโลกในยุคปัจจุบันที่กรุงเทพมหานครจึงได้มีการกำหนดตัวชี้วัด 3.5 การควบคุมมลพิษทางเสียง ตามโครงการสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร (Bangkok Green Office) พ.ศ. 2567 มาเพื่อการกระตุ้นเตือนให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหามลพิษทางเสียง และมอบโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ของกรุงเทพมหานครได้ระดมความคิดเพื่อหาวิธีในการรับมือและจัดการกับปัญหามลพิษทางเสียงอย่างเป็นอิสระ

 

สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครกับการจัดการมลพิษทางเสียง

สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครได้แบ่งวิธีการจัดการมลพิษทางเสียงออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับสำนักงาน และระดับบุคลากร ดังนี้

การติดตามและเฝ้าระวังมลพิษทางเสียง

เนื่องจากการติดตามและเฝ้าระวังมลพิษทางเสียงนั้นยากต่อการตรวจวัด จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์พิเศษที่มีราคาแพง อย่างไรก็ตาม กรุงเทพมหานครได้มีความพยายามเพื่อให้ทุกท่านสามารถตรวจสอบมลพิษทางเสียงได้ โดยผ่านการตรวจสอบจากพื้นที่ที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ที่ท่านอาศัยอยู่ได้ด้วยตนเอง ผ่านการตรวจสอบข้อมูลจากรายงานค่าระดับเสียงจากสถานีตรวจวัดระดับเสียงของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่นี่

http://www.noise4thai.net/web/index.php

 

การรณรงค์การลดพฤติกรรมที่เป็นแหล่งกำเนิดของมลพิษทางเสียง

สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครได้จัดทำอินโฟกราฟิกเพื่อชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากมลพิษทางเสียงและจัดทำป้ายขอความร่วมมือในการงดการทำกิจกรรมที่เป็นแหล่งกำเนิดของมลพิษทางเสียงติดตามบริเวณต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน ดังนี้

อินโฟกราฟิกเพื่อชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากมลพิษทางอากาศ โดยการสรุปข้อมูลที่น่าสนใจจาก หนังสือคู่มือประชาชนเรื่องมลพิษทางเสียง : โลกนี้เสียงดัง (ฉบับปรับปรุง พฤษภาคม 2555) โดย สํานักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สำหรับท่านที่สนใจเรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมที่เกี่ยวกับมลพิษทางเสียง สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.pcd.go.th/publication/4575/

 

ป้ายขอความร่วมมือในการงดการทำกิจกรรมที่เป็นแหล่งกำเนิดของมลพิษทางเสียงในระดับสำนักงาน จัดทำขึ้นเพื่อเตือนใจให้ทั้งเจ้าหน้าที่และผู้มาติดต่อราชการกับสำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครงดการทำกิจกรรมที่เป็นแหล่งกำเนิดของมลพิษทางเสียงในระดับที่สามารถพบเจอได้ในสำนักงาน

 

 

 

 

 

ในการนี้ สำนักงานเลขานุการสภากรุงเทพมหานครมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำนักงานสีเขียวกรุงเทพมหานคร (Bangkok Green Office) พ.ศ. 2567 และคาดหวังว่าการเผยแพร่ข้อมูลนี้จะเป็นอีกหนึ่งก้าวที่จะช่วยให้กรุงเทพมหานครสามารถจัดการมลพิษทางเสียงต่อไปได้อย่างยั่งยืน

 

ผู้ชมทั้งหมด 51 ครั้ง, ผู้ชมวันนี้ 1 ครั้ง

Back To Top